ภาคผนวก วีซ่า (Appendix)
ความหมายของตำแหน่งผู้จัดการสำหรับ L-1A วีซ่า 8 C.F.R., 214.2(I)(1)(II)(B)
ความหมาย
(B) ตำแหน่งผู้จัดการ หมายถึงหน้าที่ภายในองค์กรที่ลูกจ้างจะต้องทำ
1. บริหารจัดการภายในองค์กร แผนก ฝ่าย หรือหน่วยงานในองค์กร
2. ควบคุมดูแลการทำงานของผู้อื่น หรือบริหารงานในส่วนที่จำเป็นต่อองค์กร แผนก
หรือฝ่ายขององค์กร
3. มีอำนาจในการเรียกจ้าง ไล่ออก หรือให้คำแนะนำในการคัดเลือกพนักงาน หรืออื่นๆเสมือนฝ่ายบุคคล
(เช่นการเลื่อนตำแหน่งและอนุญาตหยุดงาน) สำหรับผู้ทำงานใต้บังคับบัญชา หากไม่มีผู้ใต้บังคับบัญชาจะต้องดำรงตำแหน่งระดับอาวุโสในส่วนบริหารขององค์กร และ
4. ใช้ดุลพินิจในการตัดสินใจในการปฏิบัติงานประจำวันได้ หากไม่สามารถใช้ดุลพินิจได้ก็ต่อเมื่อผู้ใต้บังคับบัญชาเป็นผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางในงานนั้นๆ
ความหมายของตำแหน่งผู้บริหารสำหรับ L-1A วีซ่า 8 C.F.R., 214.2(I)(1)(II)(C)
(C) ตำแหน่งผู้บริหารหมายถึงหน้าที่ภายในองค์กรที่ลูกจ้างจะต้องทำ
1. ชี้นำระดับผู้บริหารในองค์กร หรือฝ่ายหลักขององค์กร
2. สร้างเป้าหมายและนโยบายขององค์กร หรือแผนกฝ่ายในองค์กร
3. ใช้ดุลพินิจที่กว้างไกลในการตัดสินใจ และ
4. รับคำแนะนำหรือแนวทางจากผู้บริหารในตำแหน่งที่สูงกว่า คณะกรรมการบริษัท
หรือผู้ถือหุ้น เท่านั้น
ความหมายของผู้มีความสามารถพิเศษสำหรับ L-1B วีซ่า 8 C.F.R., 214.2(I)(1)(II)(D)
(D) ความสามารถพิเศษหมายถึงความรู้เฉพาะในด้านต่างๆที่เฉพาะบุคคลมี ที่จำเป็นต่อการดำเนินงานขององค์กรไม่ว่าจะเป็นในด้านสินค้า การให้บริการ การวิจัย เครื่องมือ เทคนิค การบริหาร หรือการตลาดในระดับนานาชาติ หรือความรู้ความสามารถเฉพาะด้านในกระบวนการการทำงานขององค์กร
8 C.F.R., 214 (I)(1)(II)(E)
(E) ผู้มีความรู้เฉพาะทางหมายถึงผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้เฉพาะทางในสาขาอาชีพที่ได้อธิบายในย่อหน้า
(I)(1)(II)(D) และเป็นสมาชิกของสาขาอาชีพดังที่ได้กล่าวไว้ใน หมวด 101 (a)(32)
ของพระราชบัญญัติการตรวจคนเข้าเมืองและการขอสัญชาติ
ความหมายของ R-1 ผู้ทำงานในด้านศาสนา วีซ่า 8 C.F.R., 214.2(r)(2)
ทำงานในองค์กรทางศาสนาที่ทำงานกุศลที่ได้รับการยกเว้นทางด้านภาษี ที่ได้อธิบายในหมวด
501(c)(3) ของหลักเกณฑ์การเก็บภาษีรายได้ปี 1986 เนื่องจากองค์กรทางศาสนาเหล่านี้มิได้ทำงานเพื่อมุ่งหวังผลประโยชน์ทางภาษี
แต่เพื่อความมุ่งมั่นในการทำงาน
องค์กรการกุศลที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มนิกายทางศาสนาหมายถึงองค์กรที่ทำงานร่วมกับองค์กรทางศาสนานิกายต่างๆที่ได้รับการยกเว้นทางด้านภาษี ที่ได้อธิบายในหมวด 501(c)(3) ของหลักเกณฑ์การเก็บภาษีรายได้ปี 1986
ผู้สอนศาสนาหมายถึงบุคคลที่ได้รับมอบหมายจากองค์กรทางศาสนาในหน้าที่ต่างๆ
ซึ่งหน้าที่เหล่านี้จะต้องเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติทางศาสนา คำจำกัดความนี้ไม่รวมถึงผู้เทศน์บรรยายที่ไม่ได้รับมอบหมายงานข้อกำหนดของผู้เชี่ยวชาญหมายถึงกิจกรรมในด้านศาสนาซึ่งผู้ปฏิบัติจะต้องมีวุฒิอย่างน้อยในระดับเทียบเท่าปริญญาตรีนิกายทางศาสนาหมายถึงกลุ่มรวมผู้นับถือทางศาสนา หรือสังคมที่มีการปฏิบัติจัดการเกี่ยวกับพระการปฏิบัติตามความศรัทธา การสวดบูชา การปฏิบัติตามคำสอนและหลักเกณฑ์ทางศาสนา พิธีกรรม จัดตั้งสถานที่ในการประกอบพิธีกรรม การชุมนุมทางศาสนาอย่างสุจริตใจ
กลุ่มนิกายเหล่านี้จะถูกจัดว่าเป็นนิกายหนึ่งของศาสนาซึ่งจะได้รับการยกเว้นภาษีตามที่บัญญัติไว้ในหมวด
501(c)(3) ของหลักเกณฑ์การเก็บภาษีรายได้ปี 1986 อาชีพทางศาสนารวมถึง ผู้ให้คำแนะนำด้านศาสนา
ผู้ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับศาสนา ผู้เขียนคำสั่งสอนผู้ที่ทำงานในโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลทางศาสนา
บาทหลวง ล่ามแปลทางศาสนา หรือผู้แนะนำศาสนากลุ่มอาชีพนี้ไม่รวมถึงภารโรง
พนักงานซ่อมบำรุง เสมียน ผู้ขอรับบริจาค หรือพนักงานทำงานในระบบการรับบริจาคอาชีพทางศาสนาหมายถึงหน้าที่ที่ทำในศาสนาตามความศรัทธาเช่นการปฏิบัติตนตามคำสาบานของศาสนา อาชีพเหล่านี้ได้แก่แม่ชี พระสงฆ์ และภราดร
คำอธิบายของธุรกรรมทางธุรกิจสำหรับ B-1 วีซ่าชั่วคราว 8 C.F.R., 41.31
(1) คำว่า ธุรกิจ ที่ได้ใช้ใน INA 101(a)(15)(B) หมายถึงการแสดงสินค้า การประชุมอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจในแขนงต่างๆ
โดยไม่ได้รวมถึงการทำงานในท้องถิ่น ในกรณีนี้ ธุรกิจก่อสร้างไม่ว่าจะเป็นในสถานที่ก่อสร้าง
หรือสถานที่จัดเตรียมวัสดุจะต้องจัดจ้างแรงงานท้องถิ่น
สำหรับผู้ถือ B-1 วีซ่าชั่วคราวไม่สามารถทำงานเหล่านี้ได้สำหรับชาวต่างด้าวที่จะเข้ามาทำงานชั่วคราวในประเภทงานที่ต้องใช้ทักษะหรือความรู้ความ
เชี่ยวชาญพิเศษโดยไม่มีสัญญาการจ้างงานจะต้องจัดเตรียมการเอกสารเพิ่มเติมภายใต้บทบัญญัติของ
41.53 และจะจัดอยู่ในกลุ่มผู้พำนักอาศัยชั่วคราว
Why Choose Maney | Gordon | Zeller?
A member of our team will be in touch shortly to confirm your contact details or address questions you may have.